ไทย
ไทย
English
中文 (中国)
ไทย
ไทย
English
中文 (中国)
No products in the cart.
0
THB, ฿
USD, $
FOX v.1.4.0
logo
MENU
MENU
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
หมอนหนุน
หมอนจัดท่านอน
ท็อปเปอร์
ที่นอน
หมอนหนุน
หมอนจัดท่านอน
ท็อปเปอร์
ที่นอน
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
Menu
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
logo
No products in the cart.
0
หน้าแรก
/ เรื่องราวสุขภาพ
/ ฝัน (Dream)
ฝัน (Dream)
มีนาคม 2, 2023
Dream
,
การนอน
,
ความฝัน
,
ความรู้สึก
,
พักผ่อน
,
ระบบประสาท
Share this :
Instagram
ฝัน (Dream)
ฝั
น
(Dream)
คือการเเสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกเเละเเรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับเเละเก็บซ่อนไว้ในจิตใจลึกๆของมนุษย์ผ่านการทำงานของสมองในขณะที่หลับอยู่
ซิกมันด์
ฟรอยด์
นายเเพทย์ด้านประสาทวิทยาชาวออสเตรีย
ผู้เป็นบิดาเเห่งจิตวิเคราะห์ ได้ศึกษาการทำงานของระบบประสาทเเละความคิดของมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางด้านการเเพทย์เเละด้านอื่นๆ ฟรอยด์มองว่า
“
ความฝัน
คือ
การเเสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกเเละเเรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับเเละเก็บซ่อนเอาไว้ข้างในจิตใจลึกๆของมนุษย์
”
ในขณะที่ร่างกายเรากำลังนอนหลับพักผ่อนแต่สมองไม่ได้พักตัวเองด้วย สมองยังคงทำหน้าที่ดูเเลระบบสารเคมีต่างๆ
เซลล์ประสาทยังคงทำงานเเม้เราจะหลับไปเเล้วก็ตาม
สมองส่วนในรักษาข้อมูลความจำเเละส่งข้อมูลในรูปแบบคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่ ดังนั้นจะกล่าวว่าขณะที่เราหลับจะมีการฝันตลอดเวลาก็ได้เนื่องจากสมองยังคงมีการทำงาน
อยู่ตลอดเวลาเเต่เราจะจำอะไรได้บ้างหรือไม่เพียงเท่านั้น
ใน
1
คืนวงจรการนอนหลับของเราจะทำงาน
4-5 รอบเราจะฝันตลอดเวลาที่นอนหลับแต่ช่วงที่ชัดเจนที่สุดมักจะเกิดในช่วง REM (Rapid Eye Movement)
ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ตาเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงนี้ร่างกาจะเป็นอัมพาตไปชั่วขณะแต่สมองจะตื่นตัวมากที่สุด ข้อมูลต่างๆจะถูกนำมาผสมกับอารมณ์เเละเเสดงออกมาเป็นความฝัน
การฝันจะใช้เวลาตั้งเเต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึง 20 นาทีเเละคนเรามักจะจำความฝันได้มากกว่าหากฝันในระยะ
REM
โดยเฉลี่ยในระหว่างการนอนหลับ
8
ชั่วโมงเราจะใช้เวลากับการฝัน
2
ชั่วโมง
จากการทดสอบของสถาบันการเเพทย์
Max Planck
ในเมืองไฮเดลเบิร์ก
ประเทศเยอรมนีที่ได้ทำการทดลองกับหนูที่ถูกวางยาสลบ
พบว่าสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์
(Neocortex)
สามารถทำงานได้ดีในขณะที่นอนหลับซึ่งจะส่งกระเเสประสาทไปกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปเเคมปัส
(Hippocampus)
ให้ประมวลผลเเละเก็บข้อมูลใน
ระยะสั้น สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์นี้จะเป็นตัวตัดสินใจว่าข้อมูลความทรงจำชุดใดจะถูกส่งกลับไปจัดเก็บเป็นข้อมูลระยะยาวเเละความทรงจำใดควรจะถูกลบเเละลืมในที่สุด ซึ่งภาพความฝันที่เราเห็นขณะหลับจึงเกิดจากความ
ทรงจำบางชุดถูกสุ่มเเละตรวจจับได้เป็นพิเศษขณะที่ถูกส่งผ่าน โดยจะถูกผสมผสานเเละปรุงเเต่งเรื่องราวตามประสบการณ์ที่เเต่ละคนนึกคิดเเละพบเจอ ซึ่งนักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ศึกษากระบวนการเกิดความฝันของคนโดยระบุถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝัน คือ
ความฝันที่มาจากความเจ็บปวด
ฝันจากเรื่องที่ค้างคาใจเเละฝันที่มาจากประสบการณ์ในอดีต
ความฝันที่จำได้ส่วนใหญ่ประมาณ
80-90%
จะเกิดในช่วงการนอนหลับเเบบตากระตุกความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงเเรกๆของการหลับมักจะถูกลืม ส่วนที่จำได้นั้นจะเป็นความฝันที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตื่นหรือฝันจนตื่น ส่วนใหญ่ความฝันจะอยู่ในรูปของการเห็นรองลงมาจะอยุ่ในรูปของการได้ยิน การสัมผัสเเละความเจ็บปวด
ความฝันเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งของเซลล์สมองเเละระบบประสาท
บ่อยครั้งที่ความฝันกินเวลานานเเละยิ่งถ้าความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่หวาดเสียวเเละลุ้นระทึกมากๆ
ก็จะส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้าเหมือนไม่ได้พักผ่อนเนื่องจากสมองยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะพักผ่อนควรทำสมองเเละจิตใจ
ให้ว่างโดยการฟังเพลงเบาๆก่อนนอนก็อาจทำให้นอนหลับได้เต็มอิ่มมากยิ่งขึ้น
Share this :
Instagram
Shop Now
Shop Now